สาเหตุการเปลี่ยนแปลงการปกครองใน พ.ศ. 2475
1.ความเสื่อมของระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์
การที่คณะนายทหารหนุ่มภายใต้การนำของ ร.อ.ขุนทวยหาญพิทักษ์(เหล็ง ศรีจันทร์) ได้วางแผนยึดอำนาจการปกครอง เพื่อเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบที่จำกัดพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ให้อยู่ในฐานะประมุขของประเทศภายใต้รัฐธรรมนูญเมื่อ พ.ศ.2454 แต่ไม่ประสบความสำเร็จเพราะถูกจับกุมก่อนลงมือปฏิบัติงาน แสดงให้เห็นถึงความเสื่อมของระบอบนี้อย่างเห็นได้ชัด ขณะเดียวกันในสมัยรัชกาลที่ 6 ได้มีการวิพากษ์วิจารณ์กันอย่างกว้างขวางเกี่ยวกับการใช้จ่ายเงินงบประมาณที่ไม่ดุลกับรายรับ ทำให้มีการกล่าวโจมตีรัฐบาลว่าใช้จ่ายฟุ่มเฟือยเกินไป ครั้งต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 7 พระองค์ก็ถูกโจมตีว่าทรงตกอยู่ใต้อิทธิพลของอภิรัฐมนตรีสภา ซึ่งเป็นสภาที่ปรึกษาที่ประกอบด้วยสมาชิกที่เป็นพระบรมวงศานุวงศ์ชั้นสูง และบรรดาพระราชวงศ์ก็มีบทบาทในการบริหารบ้านเมืองมากเกินไป ควรจะให้บุคคลอื่นที่มีความสามารถเข้ามีส่วนร่วมในการบริหารบ้านเมืองด้วย ปรากฎการณ์ดังกล่าวสะท้อนให้เห็นถึงความไม่พอใจต่อระบอบการปกครองที่มีพระมหากษัตริย์อยู่เหนือกฎหมาย ซึ่งนับวันจะมีปฏิกิริยาต่อต้านมากขึ้น
1.ความเสื่อมของระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์
การที่คณะนายทหารหนุ่มภายใต้การนำของ ร.อ.ขุนทวยหาญพิทักษ์(เหล็ง ศรีจันทร์) ได้วางแผนยึดอำนาจการปกครอง เพื่อเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบที่จำกัดพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ให้อยู่ในฐานะประมุขของประเทศภายใต้รัฐธรรมนูญเมื่อ พ.ศ.2454 แต่ไม่ประสบความสำเร็จเพราะถูกจับกุมก่อนลงมือปฏิบัติงาน แสดงให้เห็นถึงความเสื่อมของระบอบนี้อย่างเห็นได้ชัด ขณะเดียวกันในสมัยรัชกาลที่ 6 ได้มีการวิพากษ์วิจารณ์กันอย่างกว้างขวางเกี่ยวกับการใช้จ่ายเงินงบประมาณที่ไม่ดุลกับรายรับ ทำให้มีการกล่าวโจมตีรัฐบาลว่าใช้จ่ายฟุ่มเฟือยเกินไป ครั้งต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 7 พระองค์ก็ถูกโจมตีว่าทรงตกอยู่ใต้อิทธิพลของอภิรัฐมนตรีสภา ซึ่งเป็นสภาที่ปรึกษาที่ประกอบด้วยสมาชิกที่เป็นพระบรมวงศานุวงศ์ชั้นสูง และบรรดาพระราชวงศ์ก็มีบทบาทในการบริหารบ้านเมืองมากเกินไป ควรจะให้บุคคลอื่นที่มีความสามารถเข้ามีส่วนร่วมในการบริหารบ้านเมืองด้วย ปรากฎการณ์ดังกล่าวสะท้อนให้เห็นถึงความไม่พอใจต่อระบอบการปกครองที่มีพระมหากษัตริย์อยู่เหนือกฎหมาย ซึ่งนับวันจะมีปฏิกิริยาต่อต้านมากขึ้น
2.การได้รับการศึกษาตามแนวความคิดตะวันตกของบรรดาชนชั้นนำในสังคมไทย
อิทธิพลจากการปฏิรูปการศึกษาในสมัยรัชกาลที่ 5 ทำให้คนไทยส่วนหนึ่งที่ไปศึกษายังประเทศตะวันตก ได้รับอิทธิพลแนวคิดทางการเมืองสมัยใหม่ และนำกลับมาเผยแพร่ในประเทศไทย ทำให้คนไทยบางส่วนที่ไม่ได้ไปศึกษาต่อในต่างประเทศรับอิทธิพลแนวความคิดดังกล่าวด้วย อิทธิพลของปฏิรูปการศึกษาได้ส่งผลกระตุ้นให้เกิดความคิดในการเปลี่ยนแลปงการปกครองมากขึ้น นับตั้งแต่คณะเจ้านายและข้าราชการเสนอคำกราบบังคมทูลให้เปลี่ยนแปลงการปกครองใน พ.ศ.2427 นักหนังสือพิมพ์อย่าง เทียนวรรณ (ต.ว.ส.วัณณาโภ) ก.ศ.ร. กุหลาบ (ตรุษ ตฤษณานนท์) ได้เรียกร้องให้ปกครองบ้านเมืองในระบบรัฐสภา เพื่อให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการปกครอง และยังได้กล่าววิพากษ์วิจารณ์สังคม กระทบกระเทียบชนชั้นสูงที่ทำตัวฟุ้งเฟ้อ ซึ่งตัวเทียนวรรณเองก็ได้กราบบังคมทูลถวายโครงร่างระบบการปกครองที่เป็นประชาธิปไตยแด่รัชกาลที่ 5 ต่อมาในรัชกาลที่ 6 กลุ่มกบฏ ร.ศ.130 ที่วางแผนยึดอำนาจการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ก็เป็นบุคคลที่ได้รับการศึกษาแบบตะวันตกแต่ไม่เคยไปศึกษาในต่างประเทศ แต่คณะผู้ก่อการเปลี่ยนแปลงการปกครองใน พ.ศ.2475 เป็นคณะบุคคลที่ส่วนใหญ่ผ่านการศึกษามาจากประเทศตะวันตกแทบทั้งสิ้น แสดงให้เห็นถึงอัทธิพลของความคิดในโลกตะวันตกที่มีต่อชนชั้นผู้นำของไทยเป็นอย่างยิ่ง เมื่องคนเลห่านี้เห็นความสำคัญของระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข การเปลี่ยนแปลงกรปกครองจึงเกิดขึ้น
อิทธิพลจากการปฏิรูปการศึกษาในสมัยรัชกาลที่ 5 ทำให้คนไทยส่วนหนึ่งที่ไปศึกษายังประเทศตะวันตก ได้รับอิทธิพลแนวคิดทางการเมืองสมัยใหม่ และนำกลับมาเผยแพร่ในประเทศไทย ทำให้คนไทยบางส่วนที่ไม่ได้ไปศึกษาต่อในต่างประเทศรับอิทธิพลแนวความคิดดังกล่าวด้วย อิทธิพลของปฏิรูปการศึกษาได้ส่งผลกระตุ้นให้เกิดความคิดในการเปลี่ยนแลปงการปกครองมากขึ้น นับตั้งแต่คณะเจ้านายและข้าราชการเสนอคำกราบบังคมทูลให้เปลี่ยนแปลงการปกครองใน พ.ศ.2427 นักหนังสือพิมพ์อย่าง เทียนวรรณ (ต.ว.ส.วัณณาโภ) ก.ศ.ร. กุหลาบ (ตรุษ ตฤษณานนท์) ได้เรียกร้องให้ปกครองบ้านเมืองในระบบรัฐสภา เพื่อให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการปกครอง และยังได้กล่าววิพากษ์วิจารณ์สังคม กระทบกระเทียบชนชั้นสูงที่ทำตัวฟุ้งเฟ้อ ซึ่งตัวเทียนวรรณเองก็ได้กราบบังคมทูลถวายโครงร่างระบบการปกครองที่เป็นประชาธิปไตยแด่รัชกาลที่ 5 ต่อมาในรัชกาลที่ 6 กลุ่มกบฏ ร.ศ.130 ที่วางแผนยึดอำนาจการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ก็เป็นบุคคลที่ได้รับการศึกษาแบบตะวันตกแต่ไม่เคยไปศึกษาในต่างประเทศ แต่คณะผู้ก่อการเปลี่ยนแปลงการปกครองใน พ.ศ.2475 เป็นคณะบุคคลที่ส่วนใหญ่ผ่านการศึกษามาจากประเทศตะวันตกแทบทั้งสิ้น แสดงให้เห็นถึงอัทธิพลของความคิดในโลกตะวันตกที่มีต่อชนชั้นผู้นำของไทยเป็นอย่างยิ่ง เมื่องคนเลห่านี้เห็นความสำคัญของระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข การเปลี่ยนแปลงกรปกครองจึงเกิดขึ้น
3.ความเคลื่อนไหวของบรรดาสื่อมวลชน
สื่อมวลชนมีบทบาทในการกระตุ้นให้เกิดความตื่นตัวในการปกครองแบบใหม่และปฏิเธระบบการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ เช่น น.ส.พ.ตุลวิภาคพจนกิจ (พ.ศ.2443-2449) น.ส.พ.ศิริพจนภาค (พ.ศ.2451) น.ส.พ.จีนโนสยามวารศัพท์ (พ.ศ.2446-2450) น.ส.พ.บางกอกการเมือง (พ.ศ.2464) น.ส.พ.สยามรีวิว (พ.ศ.2430) น.ส.พ.ไทยใหม่ (พ.ศ.2474) ต่างก็เรียกร้องให้มีการปกครองในระบบรัฐสภาที่มีรัฐธรรมนูญเป็นหลักในการปกครองประเทศ โดยชี้ให้เห็นถึงความดีงามของระบอบประชาธิปไตยที่จะเป็นแรงผลักดันให้ประชาชาติมีความเจริญก้าวหน้ามากกว่าที่เป็นอยู่ ดังเช่นที่ปรากฎเป็นตัวอย่างในหลายๆประเทศที่มีการปกครองในระบอบรัฐธรรมนูญ การะแสเรียกร้องของสื่อมวลชนในสมัยนั้นได้มีส่วนต่อการสนับสนุนให้การดำเนินของคณะผู้ก่อการในอันที่จะเปลี่ยนแปลงการปกครองบรรลุผลสำเร็จได้เหมือนกัน
สื่อมวลชนมีบทบาทในการกระตุ้นให้เกิดความตื่นตัวในการปกครองแบบใหม่และปฏิเธระบบการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ เช่น น.ส.พ.ตุลวิภาคพจนกิจ (พ.ศ.2443-2449) น.ส.พ.ศิริพจนภาค (พ.ศ.2451) น.ส.พ.จีนโนสยามวารศัพท์ (พ.ศ.2446-2450) น.ส.พ.บางกอกการเมือง (พ.ศ.2464) น.ส.พ.สยามรีวิว (พ.ศ.2430) น.ส.พ.ไทยใหม่ (พ.ศ.2474) ต่างก็เรียกร้องให้มีการปกครองในระบบรัฐสภาที่มีรัฐธรรมนูญเป็นหลักในการปกครองประเทศ โดยชี้ให้เห็นถึงความดีงามของระบอบประชาธิปไตยที่จะเป็นแรงผลักดันให้ประชาชาติมีความเจริญก้าวหน้ามากกว่าที่เป็นอยู่ ดังเช่นที่ปรากฎเป็นตัวอย่างในหลายๆประเทศที่มีการปกครองในระบอบรัฐธรรมนูญ การะแสเรียกร้องของสื่อมวลชนในสมัยนั้นได้มีส่วนต่อการสนับสนุนให้การดำเนินของคณะผู้ก่อการในอันที่จะเปลี่ยนแปลงการปกครองบรรลุผลสำเร็จได้เหมือนกัน
4.ความขัดแย้งทางความคิดเกี่ยวกับการปกครองในระบอบประชาธิปไตย
รัชกาลที่ 7 ทรงเล็งเห็นความสำคัญของการมีรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดในการปกครองประเทศและทรงเต็มพระทัยที่จะสละพระราชอำนาจมาอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญเมื่อถึงเวลาที่เหมาะสม แต่เมื่อพระองค์ทรงมีกระแสรับสั่งให้พระยาศรีวิศาลวาจาและนายเรย์มอนด์ บี.สตีเวนส์ร่างรัฐธรรมนูญขึ้นมาเพื่อประกาศใช้ พระองค์ได้ทรงนำเรื่องนี้ไปปรึกษาอภิรัฐมนตรีสภา แต่อภิรัฐมนตรีสภากลับไม่เห็นด้วย โดยอ้างว่าประชาชนยังขาดความพร้อมและเกรงจะเป็นผลเสียมากกว่าผลดี ทั้งๆที่รัชกาลที่ 7 ทรงเห็นด้วยกับการประกาศใช้รัฐธรรมนูญ แต่เมื่ออภิรัฐมนตรีสภาคัด ค้าน พระองค์จึงมีน้ำพระทัยเป็นประชาธิปไตยโดยทรงฟังเสียงทัดทานจากอภิรัฐมนตรีสภาส่วนใหญ่ ดังนั้นรัฐธรรมนูญจึงยังไม่มีโอกาสได้รับการประกาศใช้ เป็นผลให้คณะผู้ก่อการชิงลงมือทำการเปลี่ยนแปลงการปกครองในวันที่ 24 มิถุนายน 2475 ได้ในที่สุด
รัชกาลที่ 7 ทรงเล็งเห็นความสำคัญของการมีรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดในการปกครองประเทศและทรงเต็มพระทัยที่จะสละพระราชอำนาจมาอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญเมื่อถึงเวลาที่เหมาะสม แต่เมื่อพระองค์ทรงมีกระแสรับสั่งให้พระยาศรีวิศาลวาจาและนายเรย์มอนด์ บี.สตีเวนส์ร่างรัฐธรรมนูญขึ้นมาเพื่อประกาศใช้ พระองค์ได้ทรงนำเรื่องนี้ไปปรึกษาอภิรัฐมนตรีสภา แต่อภิรัฐมนตรีสภากลับไม่เห็นด้วย โดยอ้างว่าประชาชนยังขาดความพร้อมและเกรงจะเป็นผลเสียมากกว่าผลดี ทั้งๆที่รัชกาลที่ 7 ทรงเห็นด้วยกับการประกาศใช้รัฐธรรมนูญ แต่เมื่ออภิรัฐมนตรีสภาคัด ค้าน พระองค์จึงมีน้ำพระทัยเป็นประชาธิปไตยโดยทรงฟังเสียงทัดทานจากอภิรัฐมนตรีสภาส่วนใหญ่ ดังนั้นรัฐธรรมนูญจึงยังไม่มีโอกาสได้รับการประกาศใช้ เป็นผลให้คณะผู้ก่อการชิงลงมือทำการเปลี่ยนแปลงการปกครองในวันที่ 24 มิถุนายน 2475 ได้ในที่สุด
5.สถานะการคลังของประเทศและการแก้ปัญหา
การคลังของประเทศเริ่มประสบปัญหามาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 6 เพราะการผลิตข้าวประสบความล้มเหลว เนื่องจากเกิดภาวะน้ำท่วมและฝนแล้งติดต่อกันใน พ.ศ. 2460 และ พ.ศ.2462 ซึ่งก่อให้เกิดผลเสียหายต่อการผลิตข้าวอย่างรุนแรง ภายในประเทศก็ขาดแคลนข้าวที่จะใช้ในการบริโภค และไม่สามารถส่งข้าวไปขายยังต่างประเทศได้ ทำให้รัฐขาดรายได้เป็นจำนวนมาก รัฐบาลจึงต้องจัดสรรเงินงบประมาณช่วยเหลือชาวนา ข้าราชการ และผู้ประสบกับภาวะค่าครองชีพที่สูงขึ้น มีทั้งรายจ่ายอื่นๆ เพิ่มขึ้นจนเกินงบประมาณรายได้ ซึ่งใน พ.ศ. 2466 งบประมาณขาดดุลถึง 18 ล้านบาท นอกจากนี้รัฐบาลได้นำเอาเงินคงคลังที่เก็บสะสมไว้ออกมาใข้จ่ายจนหมดสิ้น ในขณะที่งบประมาณรายได้ต่ำ รัชกาลที่ 6 ทรงแก้ปัญหาด้วยการกู้เงินจากต่างประเทศ เพื่อให้มีเงินเพียงพอกับงบประมาณรายจ่าย ทำให้เกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์ว่ารัฐบาลใช้จ่ายเงินงบประมาณอย่างไม่ประหยัด ในขณะที่เศรษฐกิจของประเทศกำลังคับขัน
ต่อมาสมัยรัชกาลที่ 7 ทรงดำเนินนโยบายตัดทอนรายจ่ายของรัฐบาลลดจำนวนข้าราชการในกระทรวงต่างๆให้น้อยลง และทรงยินยอมตัดทอนงบประมาณรายจ่ายส่วนพระองค์ให้น้อยลง เมื่อ พ.ศ.2469 ทำให้รัฐบาลมีรายได้เพิ่มขึ้นปีละ 3 ล้านบาท แต่เนื่องจากเศรษฐกิจของโลกเริ่มตกต่ำมาเป็นลำดับตั้งแต่ พ.ศ. 2472 ทำให้มีผลกระทบต่อประเทศไทยอย่างไม่มีทางหลีกเลี่ยง รัฐบาลต้องตัดทอนรายจ่ายอย่างเข้มงวดที่สุด รวมทั้งปลดข้าราชการออกจากตำแหน่งเป็นอันมาก จัดการยุบมณฑลต่างๆทั่วประเทศ งดจ่ายเบี้ยเลี้ยงและเบี้ยกันดารของข้าราชการ รวมทั้งการประกาศให้เงินตราของไทยออกจากมาตรฐานทองคำ
พ.ศ. 2475 รัฐบาลได้ประกาศเพิ่มภาษีราษฎรโดยเฉพาะการเก็บภาษีเงินเดือนจากข้าราชการ แต่มาตรการดังกล่าวมก็ไม่สามารถจะกอบกู้สถานะการคลังของประเทศได้กระเตื้องขึ้นได้ จากปัญหาเศรษฐกิจการคลังที่รัฐบาลไม่สามารถแก้ไขให้มีสภาพเป็นปกติได้ ทำให้คณะผู้ก่อการใช้เป็นข้ออ้างในการโจมตีประสิทธิภาพการบริหารงานของรัฐบาล จนเป็นเงื่อนไขให้คณะผู้ก่อการดำเนินการเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นผลสำเร็จ
การคลังของประเทศเริ่มประสบปัญหามาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 6 เพราะการผลิตข้าวประสบความล้มเหลว เนื่องจากเกิดภาวะน้ำท่วมและฝนแล้งติดต่อกันใน พ.ศ. 2460 และ พ.ศ.2462 ซึ่งก่อให้เกิดผลเสียหายต่อการผลิตข้าวอย่างรุนแรง ภายในประเทศก็ขาดแคลนข้าวที่จะใช้ในการบริโภค และไม่สามารถส่งข้าวไปขายยังต่างประเทศได้ ทำให้รัฐขาดรายได้เป็นจำนวนมาก รัฐบาลจึงต้องจัดสรรเงินงบประมาณช่วยเหลือชาวนา ข้าราชการ และผู้ประสบกับภาวะค่าครองชีพที่สูงขึ้น มีทั้งรายจ่ายอื่นๆ เพิ่มขึ้นจนเกินงบประมาณรายได้ ซึ่งใน พ.ศ. 2466 งบประมาณขาดดุลถึง 18 ล้านบาท นอกจากนี้รัฐบาลได้นำเอาเงินคงคลังที่เก็บสะสมไว้ออกมาใข้จ่ายจนหมดสิ้น ในขณะที่งบประมาณรายได้ต่ำ รัชกาลที่ 6 ทรงแก้ปัญหาด้วยการกู้เงินจากต่างประเทศ เพื่อให้มีเงินเพียงพอกับงบประมาณรายจ่าย ทำให้เกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์ว่ารัฐบาลใช้จ่ายเงินงบประมาณอย่างไม่ประหยัด ในขณะที่เศรษฐกิจของประเทศกำลังคับขัน
ต่อมาสมัยรัชกาลที่ 7 ทรงดำเนินนโยบายตัดทอนรายจ่ายของรัฐบาลลดจำนวนข้าราชการในกระทรวงต่างๆให้น้อยลง และทรงยินยอมตัดทอนงบประมาณรายจ่ายส่วนพระองค์ให้น้อยลง เมื่อ พ.ศ.2469 ทำให้รัฐบาลมีรายได้เพิ่มขึ้นปีละ 3 ล้านบาท แต่เนื่องจากเศรษฐกิจของโลกเริ่มตกต่ำมาเป็นลำดับตั้งแต่ พ.ศ. 2472 ทำให้มีผลกระทบต่อประเทศไทยอย่างไม่มีทางหลีกเลี่ยง รัฐบาลต้องตัดทอนรายจ่ายอย่างเข้มงวดที่สุด รวมทั้งปลดข้าราชการออกจากตำแหน่งเป็นอันมาก จัดการยุบมณฑลต่างๆทั่วประเทศ งดจ่ายเบี้ยเลี้ยงและเบี้ยกันดารของข้าราชการ รวมทั้งการประกาศให้เงินตราของไทยออกจากมาตรฐานทองคำ
พ.ศ. 2475 รัฐบาลได้ประกาศเพิ่มภาษีราษฎรโดยเฉพาะการเก็บภาษีเงินเดือนจากข้าราชการ แต่มาตรการดังกล่าวมก็ไม่สามารถจะกอบกู้สถานะการคลังของประเทศได้กระเตื้องขึ้นได้ จากปัญหาเศรษฐกิจการคลังที่รัฐบาลไม่สามารถแก้ไขให้มีสภาพเป็นปกติได้ ทำให้คณะผู้ก่อการใช้เป็นข้ออ้างในการโจมตีประสิทธิภาพการบริหารงานของรัฐบาล จนเป็นเงื่อนไขให้คณะผู้ก่อการดำเนินการเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นผลสำเร็จ
ขั้นตอนการยึดอำนาจ
คณะผู้ก่อการได้เริ่มลงมือปฏิบัติงานในวันที่ 24 มิถุนายน 2475 โดยมี พ.อ.พระยาพหลพลพยุหเสนา หัวหน้าคณะผู้ก่อการ เป็นผู้นำในการเปลี่ยนแปลงการปกครอง โดยการนำคณะนายทหารพร้อมด้วยกำลังหน่วยทหารที่เตรียมการเอาไว้ เข้ายึดพระที่นั่งอนันตสมาคมเป็นฐานบัญชาการ และได้ส่งกำลังทหารเข้ายึดวังบางขุนพรหม พร้อมทั้งได้ทูลเชิญสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์วรพินิตเสด็จมาประทับยังพระที่นั่งอนันตสมาคมเป็นผลสำเร็จ จากการที่คณะผู้ก่อการได้พยายามดำเนินการอย่างละมุนละม่อมดังกล่าว ทำให้สถานการณ์ต่างๆ คลี่คลายไปในทางที่ดีซึ่งมีผลต่อชาติบ้านเมืองโดยส่วนรวม
สำหรับทางฝ่ายพลเรือนนั้น สมาชิกคณะผู้ก่อการกลุ่มหนึ่งภายใต้การนำของหลวงโกวิทอภัยวงศ์ (นายควง อภัยวงศ์) ได้ออกตระเวนตัดสายโทรศัพท์และโทรเลขทั้งในพระนครและธนบุรี เพื่อป้องกันมิให้สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์วรพินิตและผู้บังคับบัญชาหน่วยทหารในกรุงเทพฯ ขณะนั้น โทรศัพท์และโทรเลขติดต่อกับพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งประทับอยู่ที่พระราชวังไกลกังวล หัวหิน ส่วนนายปรีดี พนมยงค์ ได้จัดทำใบปลิว คำแถลงการณ์ของคณะผู้ก่อการออกแจกจ่ายประชาชน
คณะผู้ก่อการสามารถยึดอำนาจและจับกุมบุคคลสำคัญฝ่ายรัฐบาลไว้ได้โดยเรียบร้อย และได้ร่วมกันจัดตั้ง คณะราษฎร ขึ้นมาเพื่อทำหน้าที่รับผิดชอบ รวมทั้งออกประกาศแถลงการณ์ของคณะราษฎร เพื่อชี้แจงที่ต้องเข้ายึดอำนาจการปกครองให้ประชาชนเข้าใจ นอกจากนี้คณะราษฎรได้แต่งตั้งผู้รักษาการพระนครฝ่ายทหารขึ้น 3 นาย ได้แก่ พ.อ.พระยาพหลพลพยุหเสนา พ.อ.พระยาทรงสุรเดช พ.อ.พระยาฤทธิ์อัคเนย์ โดยให้ทำหน้าที่เป็นผู้บริหารราชการแผ่นดิน ขณะที่ยังไม่มีรัฐธรรมนูญเป็นหลักในการบริหารประเทศ
หลังจากนั้น คณะราษฎรได้มีหนังสือกราบบังคับทูลอันเชิญพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จกลับคืนสู่พระนคร เพื่อดำรงฐานะเป็นพระมหากษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรต่อไป ด้วยความที่พระองค์ทรงมีน้ำพระทัยที่เป็นประชาธิปไตย และทรงพร้อมที่จะเสียสละเพื่อประชาชนและประเทศชาติ พระองค์ทรงตอบรับคำกราบบังคับทูลอัญเชิญของคณะราษฎร โดยพระองค์ทรงยินยอมที่จะสละพระราชอำนาจของพระองค์ด้วยการพระราชทานรัฐธรรมนูญตามที่คณะราษฎรได้มีเป้าหมายเอาไว้ในการเปลี่ยนแปลงการปกครอง และได้เสด็จพระราชดำเนินกลับคืนสู่พระนครเพื่อพระราชทานรัฐธรรมนูญให้กับปวงชนชาวไทย
คณะผู้ก่อการได้เริ่มลงมือปฏิบัติงานในวันที่ 24 มิถุนายน 2475 โดยมี พ.อ.พระยาพหลพลพยุหเสนา หัวหน้าคณะผู้ก่อการ เป็นผู้นำในการเปลี่ยนแปลงการปกครอง โดยการนำคณะนายทหารพร้อมด้วยกำลังหน่วยทหารที่เตรียมการเอาไว้ เข้ายึดพระที่นั่งอนันตสมาคมเป็นฐานบัญชาการ และได้ส่งกำลังทหารเข้ายึดวังบางขุนพรหม พร้อมทั้งได้ทูลเชิญสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์วรพินิตเสด็จมาประทับยังพระที่นั่งอนันตสมาคมเป็นผลสำเร็จ จากการที่คณะผู้ก่อการได้พยายามดำเนินการอย่างละมุนละม่อมดังกล่าว ทำให้สถานการณ์ต่างๆ คลี่คลายไปในทางที่ดีซึ่งมีผลต่อชาติบ้านเมืองโดยส่วนรวม
สำหรับทางฝ่ายพลเรือนนั้น สมาชิกคณะผู้ก่อการกลุ่มหนึ่งภายใต้การนำของหลวงโกวิทอภัยวงศ์ (นายควง อภัยวงศ์) ได้ออกตระเวนตัดสายโทรศัพท์และโทรเลขทั้งในพระนครและธนบุรี เพื่อป้องกันมิให้สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์วรพินิตและผู้บังคับบัญชาหน่วยทหารในกรุงเทพฯ ขณะนั้น โทรศัพท์และโทรเลขติดต่อกับพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งประทับอยู่ที่พระราชวังไกลกังวล หัวหิน ส่วนนายปรีดี พนมยงค์ ได้จัดทำใบปลิว คำแถลงการณ์ของคณะผู้ก่อการออกแจกจ่ายประชาชน
คณะผู้ก่อการสามารถยึดอำนาจและจับกุมบุคคลสำคัญฝ่ายรัฐบาลไว้ได้โดยเรียบร้อย และได้ร่วมกันจัดตั้ง คณะราษฎร ขึ้นมาเพื่อทำหน้าที่รับผิดชอบ รวมทั้งออกประกาศแถลงการณ์ของคณะราษฎร เพื่อชี้แจงที่ต้องเข้ายึดอำนาจการปกครองให้ประชาชนเข้าใจ นอกจากนี้คณะราษฎรได้แต่งตั้งผู้รักษาการพระนครฝ่ายทหารขึ้น 3 นาย ได้แก่ พ.อ.พระยาพหลพลพยุหเสนา พ.อ.พระยาทรงสุรเดช พ.อ.พระยาฤทธิ์อัคเนย์ โดยให้ทำหน้าที่เป็นผู้บริหารราชการแผ่นดิน ขณะที่ยังไม่มีรัฐธรรมนูญเป็นหลักในการบริหารประเทศ
หลังจากนั้น คณะราษฎรได้มีหนังสือกราบบังคับทูลอันเชิญพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จกลับคืนสู่พระนคร เพื่อดำรงฐานะเป็นพระมหากษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรต่อไป ด้วยความที่พระองค์ทรงมีน้ำพระทัยที่เป็นประชาธิปไตย และทรงพร้อมที่จะเสียสละเพื่อประชาชนและประเทศชาติ พระองค์ทรงตอบรับคำกราบบังคับทูลอัญเชิญของคณะราษฎร โดยพระองค์ทรงยินยอมที่จะสละพระราชอำนาจของพระองค์ด้วยการพระราชทานรัฐธรรมนูญตามที่คณะราษฎรได้มีเป้าหมายเอาไว้ในการเปลี่ยนแปลงการปกครอง และได้เสด็จพระราชดำเนินกลับคืนสู่พระนครเพื่อพระราชทานรัฐธรรมนูญให้กับปวงชนชาวไทย
รัฐธรรมนูญที่คณะราษฎรได้นำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวาย เพื่อทรงลงพระปรมาภิไธยมี 2 ฉบับ คือ พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พ.ศ.2475 และ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พ.ศ. 2475